วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่9.......I can change ! ...New me

พัฒนาการการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น Story telling part 3



ถอดเทป Storytelling ครั้งที่2

  家の中にある犬が寝ています。そのとき、あかちゃんは犬が寝ているところへハイハイしてきます(うん) 、その赤ちゃんは犬の背中に(うん)乗って遊ぼうしたいと思いましたが、そのとき寝ている犬が起きてしまった。犬の背中に乗って遊ぼうと思った赤ちゃんは犬の顔を合わせる(うん)犬の背中に乗るのはできなくなったそれで、赤ちゃんは犬の後ろ尻尾の方へ込んて周ります。でも、あのう赤ちゃんはハイハイしているところに寝ている犬が寝向きを変えています。で、他の方へハイハイしている赤ちゃんはまたその犬の顔を合わせて驚きました。

      ______________________
      

 ครั้งนี้เป็นการถอดเทปจากการพูดstory telling เป็นครั้งที่สองค่ะ จากการเรียนในห้องและการศึกาาตัวอย่างของคยี่ปุ่นในครั้งที่เเล้ว ทำให้รู้คำศัพท์ได้มากกว่าเดิม เช่นคำว่า ハイハイする、尻尾の方、顔を合わせる、寝向きเป็นต้น ซึ่งก็ทำให้รู้สึกว่าสื่อความได้ชัดเจนขึ้นกว่าคราวแรกเยอะขึ้นรวมทั้งวิธีการพูดด้วยค่ะ  แต่ เพราะพยายามที่จะเลียนแบบวิธีการพูดของคนญี่ปุ่นจากคราวที่แล้ว จึงรู้สึกว่าพูดได้ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะจะรู้สึกห่วงคำศัพท์ วิธีการพูด สำนวนต่างๆ ซึ่งทำให้แม้จะได้คำศัพท์หรือสำนวนเพิ่มแต่ก็พูดพูดผิดหลายๆส่วน และอธิบายความสั้นลง ปัญหาอีกอย่าง(ที่แก้ไขไม่ได้เลย TT)คือ เผลอพูดเเต่รูปประโยคอดีต ตามความเคยชินเวลาเล่าเรื่อง ซึ่งจริงๆเเล้วควรพูดรูปประโยคปัจจุบันด้วย เพราะจะทำให้การเล่าเรื่องดูสดใหม่ไม่น่าเบื่อ แต่ที่ดีขึ้นคือ ไม่ค่อยพูด あのう โดยเผลอพูดไปแค่ครั้งเดียวจากที่แต่ก่อนจะติดพูดคำว่าあのうบ่อยมาก     

     ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายเเล้วของซีรี่ย์เล่าเรื่อง การพัฒนาตัวเองในการเล่าเรื่อง 555+ เป็นไงบ้างคะรู้สึกว่ามันเปลี่ยยนไปมั่งมั้ยง่ะ สำหรับตัวสำหรับตัวเราเอง เรารุ้สึกว่าแม้ว่าจะยังพูดผิดไวยกรณ์อยู่บ้าง หรืออธิบายบายยังไม่ลึกไม่ละเอียดไม่เห็นภาพชัดบ้าง แต่โดยรวมถ้าแทบกับคราวแรก เรารู้สึกว่าเราทำมันได้ดีขึ้นค่ะ ถ้าฝึกฝนให้มากกว่านี้ มันก็น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ปกติไม่เคยทำเเบบนี้มาก่อนเลย ได้เเต่นั่งถามตัวเองว่าตั้งเเต่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาตั้งเเต่มัธยมจนถึงตอนนี้ ภาษาญี่ปุ่นเรามันหยุดอยู่ที่เดิมมั้ยนะ 5555 ยังไม่เคยได้ลองเอามาเทียบเเบบนี้เลยค่ะ ตอนแรกที่พูดก่อนมาถอดเสียงก็รุ้สึกว่ายังทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมลย แต่พอมาถอดเสียงลองมาเทียบกับของเก่า มันรุ้สึกได้จริงๆนะ ถึงจะไม่ได้เก่งมาก ยังไงจากนี้ก้็จะพยายามให้มากขึ้นค่ะ 


yeahh hh h h  the end 
                                I can change ! ...




ตอนที่8.......I can change!... I see

พัฒนาการการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น Story telling part 2


ある家の中に一匹の犬が寝ている。そのとき、赤ちゃんは犬が寝ているところにハイハイして来て、犬の背に乗って遊ぼうとする。しかし、犬が起きてしまい顔を合わせてしまって乗れなくなったので、赤ちゃんは犬の後ろに周り込もうとする。ところが、赤ちゃんがハイハイして犬の尾っぽの方に回っている間、犬は寝ている向きを変えた。周り込んでいる赤ちゃんは犬が向きを変えたのが見えなかったので、周り込んだ後にまた犬と顔を合わせてしまって、大変驚いている。

      ______________________


   ในครั้งที่สองนี้เป็นการพัฒนาโดยอาจารยืให้นำความรู้ที่เรียนในห้องและศึกษาจากวิธีการพูดของคนญี่ปุ่นค่ะ ซึ่งพออ่านตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นพูดแล้วเหมือนพบทางสว่างที่ตามหา เอาปากกาไฮไลท์ขึ้นมาขีดรัวๆ เพราะทุกคำเป็นคำที่เราต้องการจะพูดในครั้งที่เเล้ว เเต่เราไม่รู้วววววว อึดอัดใจมาก พูดออกมายังไงดีน้าา คำนี้ถ้าพูดเป็นญี่ปุ่นต้องพูดไงน้าา ก็คิดไม่ออกค่ะ จนมาอ่านตัวอย่างของคนญี่ปุ่นแล้วก็ถึงบางอ้อทันที 

   สิ่งที่ต่างกันระหว่างการพูดของตัวเองและคนญี่ปุ่นและสิ่งที่พัฒนาขึ้นหลังจากศึกษาตัวอย่างการพูดของคนญี่ปุ่นขอสรุปเป็นข้อดังนี้เลยค่ะ 

1.คนญี่ปุ่นแทบไม่ใช้คำว่า あのうเลยค่ะ และจากที่อาจารย์สอนก้บอกว่าใช้แต่あのうเยอะมาก นั่นไม่ใช่การพูดภาษาญี่ปุ่นที่ดีค่ะ ขากตัวอย่างครั้งนี้จะเห็นว่าเอา あのう ออกไปหมดเลย การเล่าเรื่องดูลื่นขึ้นมากค่ะ พอกลับมาอ่านดู 

2. คำศัพท์ คนญี่ปุ่นอธิายได้ดีกว่าเพราะเค้ามีศัพท์ที่มากกว่าเราก็ต้องเป็นแบบนั้นอยู่ละอะเนอะ 55 ซึ่งพอรู้ศัพท์เเล้วพยายามเอามาปรับเข้ากับของตัวเอง ก็รู้สึกว่าอ่านได้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้นกว่าที่ตัวเองพูดครั้งแรกเยอะเลยค่ะ เช่น

คลาน   ครั้งที่แล้วใช้เป็น 犬の方へいっている >> ハイハイして来て
เดินวนไปอีกทาง ครั้งที่ใช้เป็น ほうかのほうへいって >> 込んて周りる
หันมาเจอหน้า   ครั้งที่ใช้เป็น そのいぬはあかちゃんの同じのほうにたった >>顔を合わせる
เปลี่ยนด้านนอน  ครั้งที่แล้วไม่ได้พูดค่ะเพราะไม่รู้จะใช้ว่าอะไร >> 寝ている向きを変えた

3.คนญี่ปุ่นมักจะเลือกมุมมองที่จะเล่ามาเป็นคนเดียวค่ะ แบบว่าถ้าจะยึดเล่าจากมุมสุนัขก็จะเล่าไปทั้งเรื่องเลย ซึ่งต่างจากเราที่อยากจะพูดมุมไหนก็พูด ขอสื่อความไว้ก่อน มาในครั้งนี้พยายามปรับค่ะ 

4.เรื่องรูปกริยาที่ใช้ในการเล่าเรื่อง จากที่เรียนมาและดูจากคนญี่ปุ่นใช้ เค้าจะใช้รูปปัจจุบันเพื่อทำให้เรื่องเล่าไม่น่าเบื่อ และดูสดใหม่เหมือนเพิ่งเกิดสร้างความตื่นเต้นอะไรเเบบนั้น แต่ตรงนี้เนื่องจากความเคยชิน เราสารภาพว่าลืมเปลี่ยนค่ะ 55555+ เพิ่งมารุ้ตอนหลังว่าอ่าวไม่ได้เปลี่ยนเเฮะ 
นอกจากเรื่องtense คนญี่ปุ่นมักจะใช้รูป てしまった    してきます เพื่อทำให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ ตรงนี้ก้ปรับมาใช้ด้วยเหมือนกัน 

5. คนญี่ปุ่นมักจะเชื่อมประโยคโดยใช้คำว่า て แตกต่างจากตัวเองมากเพราะแทบไม่ได้ใช้เลยในตอนแรก 

เป็นไงบ้างคะพอมาเวอร์ชั่นนี้เข้าใจมากกว่าเวอร์ชั่นนุ้นเยอะเลยเนอะ ต่อกันตอนหน้าตอนสุดท้ายสำหรับการพูด Story telling ค่ะ 





ตอนที่ 7......I can change!... By myself


พัฒนาการการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น Story telling 


เรื่อง 赤ちゃん



ถอดเสียงการเล่ารอบที่1 
                                                                                                                                                
あのう、いえのなかにいぬがねている。ぬがねているときあかちゃんがあのう。。犬の方へいっている。そのあかちゃんはあのういぬのあのうせなかのうえにすわりたいとおもっていたから、あのういぬへいねのほうへいっています。でも、あのう..そのときそのいぬがおきました。あかちゃんがおどろいたおどろきました。そのあかちゃんはあのう..いぬのまえに……いぬのせなかのうえにすわりたいですから、ほうかのほうへいって….あのう..いぬのうしろのところです。でも、そのあかちゃんはいっているとき、そのいぬはあかちゃんの同じのほうにあいました。                                                                                              
นี่เป็นตอนที่เล่าเรื่องนี้ออกมาครั้งแรกค่ะ 


ตอนที่เห็นรูปก็ค่อนข้างสับสน ไม่รู้จะเล่ายังไงก็เลยพยายามพูดออกมาเพื่อให้เข้าใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ 5555+  โดยจะใช้เเต่คำกริยาที่ง่ายๆ ซึ่งตอนพูดก็รู้ตัวว่าพูดผิด แต่เพราะไม่รู้คำกริยาที่จะสื่อตามรูปได้ตรงๆเลยใช้คำง่ายๆที่พอจะสื่อได้แทนค่ะ โดยที่สังเกตุ พอสรุปปัญหาในการเล่าStory telling ของตัวเองครั้งนี้ได้คือ

1.พูดคำว่าあのうบ่อยมากกก ในการเล่าเรื่องนี้ แม้จะเป็นเรื่องสั้นๆแต่ใช้あのうไปเกือบ10ครั้ง ซึ่งที่ใช้บ่อยๆเป็นเพราะไม่สามารถที่จะอธิบายออกมาแบบทีเดียวติดต่อกันได้ มีช่วงที่ต้องหยุดคิดว่าจะพูดยังไงดี เลยพูดคำว่า あのう เพื่อทำให้บทสนทนาในเรื่องที่เล่าขาดหายไป แต่พอมาดูเเล้วรู้สึกว่าเยอะเกินไปมากเลยค่ะ 555

2.ไม่รู้ศัพท์ มีหลายๆคำที่ไม่รู้คำศัพท์ เช่นคำว่า คลาน/เดินวนไปอีกทาง/เดินไปทางข้างหลังสุนัข/หันมาเจอหน้า เป็นต้น ก็เลยพยายามอธิบายด้วยคำง่ายๆแทน เช่น  
คลาน          ใช้เป็น 犬の方へいっている
ดินวนไปอีกทาง ใช้เป็น ほうかのほうへいって 
เดินไปทางข้างหลังสุนัข ใช้เป็น いぬのうしろのところ
หันมาเจอหน้า    ใช้เป็น そのいぬはあかちゃんの同じのほうにあいました

3. มักจะเปลี่ยนมุมมองเวลาเล่าตลอด บางทีเป็นเด็กบางทีเป็นสุนัข

4. การผันรูปคำกริยาข้างหลังไม่คงที่ บางทีใช้รูปปัจจุบัน บางทีใช้รูปอดีต ด้วยความที่เอาเเต่สนใจในเนื้อหาที่กำลังเล่า เลยไม่ได้สนไวยกรณ์มากนัก เเต่หากคนญี่ปุ่นมาฟังจริงๆอาจสร้างความเข้าใจผิดได้

5.สื่อความได้ไม่ละเอียดเนื่องจากอุปสรรคที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นค่ะ 



ค่าา อ่านละเข้าใจตามบ้างมั้ย 5555 ยังไงเดวต่อกันตอนหน้านะคะ ว่าจะมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง 

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 6......病気になった

ถึงจะหายไปนานแต่ฉันยังอยู่ววว ว





      สวัสดีค่ากลับมาเจอกันหลังจากหายไปสองสามอาทิตย์ด้วยความวุ่นวายของการเรียนและร่างกาย วันนี้เรื่องที่อยากนำเสนอเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บค่ะ  เพราะวันก่อนไปโรงพยาบาลมา นั่งรอหมอไม่มีไรทำเลยนั่งคิดขึ้นมาเล่นๆว่าเรียนญี่ปุ่นมาสามปีแล้ว รู้จักโรคอะไรในภาษาญี่ปุ่นได้บ้าง แล้วก็พบว่าได้แต่ปวดหัว ปวดท้อง ปวดขา โรคเบสิคพื้นฐาน เลยรู้สึกอยากรู้จักโรคอื่นๆบ้างค่ะ มาดูดีกว่ามาว่ามีโรคอะไรน่าสนใจบ้าง


花粉

      かふんしょ    

       


    โรคนี้ถ้าอยู่ในประเทศเราเนี่ยไม่น่าจะเป็นค่ะ แต่เราจะเป็นถ้าไปต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น ซึ่งคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้กันตอนช่วงฤดูใบไม้ผลิค่ะ ใช่แล้วโรคนี้คือ  โรคแพ้เกสรดอกไม้นั่นเองค่ะ


คันจิก็แปลตรงตัวค่ะ  ➡ =ดอกไม้  =ฝุ่น  =เจ็บป่วย




過労
    かろうし




    โรคนี้คนไทยเราก็คงไม่คุ้นอีกเหมือนกันค่ะ แต่เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนญี่ปุ่นในวัยทำงานเป็นจำนวนมากที่ญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะได้เห็นกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นบ้าง  โรคนี้ถ้าพูดเป็นภาษาไทยแบบเรา เรียกว่า โรคบ้างาน ค่ะ คือภาวะโรคที่เกิดจากการทำงานหนักจนสุขภายทรุดโทรม จนเป็นโรคมากมายไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง แม้กระทั่งอัมพาต

มาดูคันจิกันค่ะ   過=มากเกิน  =แรงงานความเหนื่อยยาก   死=เสียชีวิต



白血
   はっけつびょう




     มีใครดูsky of love บ้างง ถ้ายังมีใครจำได้พระเอกของเรื่องนี้ก็ตายจากนางเอกไปเพราะโรคนี้ค่ะ โรคนี้คนไทยคุ้นหูจากซี่รี่ย์ มันคือโรคลูคิเมียนั่นเองค่ะ หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคนี้นอกจากคร่าพระเอก sky of loveแล้ว ซาดาโกะหรือเด็กหญิงนกกระเรียนในตำนานของญี่ปุ่นก็ตาเพราะโรคนี้ด้วยเช่นกัน 

แปลตามตัวคันจิเลยค่ะ ➡ 白=สีขาว 血=เลือด 病=เจ็บป่วย



健忘
けんぼうしょう



     โรคนี้ไม่ต้องคนแก่ แต่วัยรุ่นทั่วไปนี่ก็เป็นกันเยอะค่ะ เพราะบางทีเราใส่แว่นอยู่กับตายังมานั่งหาว่าแว่นอยู่ไหน ใช่แว้ว ใครนึกออกบ้างง โรคนี้มันคือ โรคหลงๆลืมๆ ค่ะ

ดูคันจิกันเลยค่ะ 健=สุขภาพแข็งแกร่ง 忘=ลืม  =ความเจ็บป่วย

  

糖尿
とうにょうびょう


     โรคนี้เนี่ยพอแก่ตัวแล้วคนไทยเป็นกันเยอะมากๆเลยค่ะ ไม่รู้สาเหตุมาจากว่าประเทศเราชอบกินหวานรึป่าวนะ โรคนี้คือโรคเบาหวาน นั่นเอง

มาดูคันจิบ้าง糖=น้ำตาล   尿=ปัสสาวะ    病=เจ็บป่วย




      เอาซักโรคพอเนาะ จากที่เห็นเราจะดูได้เลยว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเรื่องโรคมันเกิดจากการเอาคันจิที่มีความหมายสำคัญๆเกี่ยวกับโรคมาเรียงกันค่ะ ซึ่งคิดว่าถ้าใครรู้คันจิเยอะๆน่าจะไม่มีปัญหาเลยน่าจะจำได้ง่ายแปปเดียว เอาล่ะค่ะ จบดีกว่าเนอะเจอกันใหม่ตอนหน้าค่า 

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 5.........日本と〇〇国

Hello !! กลับมาอัพบล็อกต่อแว้วว






        เรื่องของเรื่องนี่ก็คือ กำลังนั่งอ่านสอบวิชาJap con  อยู่ค่ะ แล้วไปอ่านเจอคำว่า 合弁企業ซึ่งแปลว่าบริษัทร่วม หรือบริษัทลงทุนสองประเทศ เช่นบริษัทของไทยกับญี่ปุ่น ประมาณนั้นค่ะ เราเลยเกิดความอยากรู้(อยากเห็น)ไปเสิร์จหาคำศัพท์ต่อว่าคันจิที่จะใช้เรียกคำสองประเทศนั้นมีอะไรบ้าง นอกจากคำว่า日米ซึ่งก้พบว่า นอกจากคำนี้ที่ทุกคนรู้จักกันดีเเล้ว ยังมีคำอื่นอีกเยอะมากกก โดยคำแต่ล่ะคำจะเอาคันจิตัวแรกของสองประเทศมารวมกันนั่นเองค่ะ มาดูคำแรกเลย 


 

 日韓(にっかん) = ญี่ปุ่น-เกาหลี

  +  (ประเทศเกาหลี) 

 


             日中(にっちゅ) = ญี่ปุ่น-จีน 

 + (ประเทศจีน)





 日印(にちい) = ญี่ปุ่น-อินเดีย

    + (ประเทศจีน)






               日英(にちえい) = ญี่ปุ่น-อังกฤษ

   +  (ประเทศอังกฤษ)




        日独(にちどく) = ญี่ปุ่น-เยอรมัน

    + (ประเทศเยอรมัน) 



日露(にちろ) = ญี่ปุ่น-รัสเซีย

   + 西亜 (ประเทศรัสเซีย) 




(にちふつ) = ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส

    + 蘭西 (ประเทศฝรั่งเศส) 




     โดยคำพวกนี้มักจะอยู่ในหนังสือพิมพ์ หรือข่าวซะส่วนมากค่ะ แล้วหลังจากที่ลองค้นไปค้นมา พอว่าคำพวกนี้มักจะใช้ร่วมกับคำอื่นบ่อยๆเช่น

日韓関係 = ความสัมพันธ์ญี่ปุ่นกับเกาหลี
日韓友好 = มิตรภาพของญี่ปุ่นกับเกาหลี
日韓戦争สงครามญี่ปุ่นเกาหลี
日韓合弁企業 =องค์กรร่วมของบริษัทญี่ปุ่นและเกาหลี   

     เป็นไงกันบ้างคะ อย่าลืมใช้คำพวกนี้เวลาที่ต้องเขียน เราจะได้ไม่ได้เขียนยาวๆว่า日本と韓国 เหลือแค่日韓 ก็พอ ดูอะเคเดมิกสมกับเป็นนิสิตปีสามม 555+ เจอกันใหม่ต่อกันเอนทรี่หน้าค่ะ